ประวัติความเป็นมา
สถาบัน รับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. เริ่มต้นภารกิจมาจากการดำเนิน
“งานวิจัยกลไกส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล” ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เมื่อปี 2540 และต่อมาในปี 2542 ได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานในกำกับของ สวรส. ในชื่อว่า “สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล” หรือ พรพ. เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
จนกระทั่งในปี 2552 จึงปรับหน่วยงานออกมาเป็นองค์การมหาชน ภายใต้ชื่อ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยให้ สรพ. ทำหน้าที่กําหนดมาตรฐานและการรับรองคุณภาพในการให้บริการของสถานพยาบาล เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐาน และทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการของสถานพยาบาลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่ดีและมีคุณภาพ
สรพ. มีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน ดังนี้
1. ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินระบบงานและการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินการพัฒนา และการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล
2. รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จัดให้มีการวิจัยและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล
3. ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกลไกในการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีมีคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบ
4. ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ และการให้บริการการเข้าถึงและใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการประเมิน การพัฒนาและการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล
5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ องค์การหรือหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศ และภาคเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมิน การพัฒนาและการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล
6. จัดทำหลักสูตรและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลให้เกิดความเข้าใจกระบวนการเกี่ยวกับการประเมิน การพัฒนาและการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล
อำนาจและหน้าที่ของสถาบัน
1. ถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
2. ก่อตั้งสิทธิหรือทํานิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สิน ตลอดจนทํานิติกรรมอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการของสถาบัน
3. กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ ในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน
4. เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน
5. ทําความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการทีเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน
6. เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดําเนินกิจการทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่คณะกรรมการกําหนด
7. มอบให้บุคคลทํากิจการที่อยู่ภายในอํานาจหน้าที่ของสถาบัน
8. ให้ประกาศนียบัตรและหนังสือรับรองในกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอํานาจหน้าที่ของสถาบัน
9. ให้เครื่องหมายรับรองคุณภาพสถานพยาบาลสําหรับสถานพยาบาลที่ผ่านการประเมิน
10. ดําเนินการอื่นใดที่จําเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน การกู้ยืม เงินตาม (3) และการเข้าร่วมทุนตาม (4) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
การรับรอง
การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 และ 2 (Step 1+2)
การรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐาน (HA+DHSA)
การรับรองขั้นก้าวหน้า (Advanced HA)
การประเมินเฉพาะโรคหรือระบบ (Disease Specific Certification - DSC)
การขอรับรองมาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุข (PHCA)
โครงการประเมิน เครือข่ายบริการสุขภาพระดับจังหวัด ( Provincial Network)
คลังความรู้
มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ
ความรู้เพื่อคุณภาพ (Publication)
กิจกรรมวิชาการ (Events and Activities)
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร