โครงการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลด้วยระบบเครือข่าย

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

1. หลักการและเหตุผล

สรพ.ได้พัฒนากลไกการกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลในทุกระดับโดยร่วมมือ

กับหน่วยงาน องค์กรในรูปแบบต่างๆ ได้แก่

• ความร่วมมือกับเครือข่ายเชิงพื้นที่ ที่มีการทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ได้แก่ Quality Learning network ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation Collaborating Center: HACC) ทั้ง 6 แห่ง ในปัจจุบัน 2563 มีเครือข่ายเชิงพื้นที่ครอบคลุม 73 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 94 และครอบคลุมครบ 12 เขตบริการ

• พัฒนาแกนนำเครือข่าย เช่น พี่เลี้ยง, QMR, Quality Coach ที่เป็น Key persons ในการกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลในรูปแบบต่างๆ ในประเด็นที่สอดคล้องกับทิศทางที่สรพ. มุ่งเน้น

• ร่วมมือกับประชาชน กลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคในการให้ความเห็นสะท้อนระบบบริการ

• การทำงานเครือข่ายเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การดูแลรักษาที่ดีในกลุ่มโรคสำคัญ หรือเครือข่ายระดับอำเภอ เช่น HIV MCH Stroke ACS, DHSA เป็นต้น

เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงไป การทำงานแบบเครือข่ายจะทำให้เกิดพลังไปสู่

การบรรลุเป้าหมายร่วมในทุกฝ่ายได้ ดังนั้น ในปี 2564 สำนักส่งเสริมการพัฒนา จึงมีจุดเน้นการทำงานร่วมกับเครือข่ายที่สำคัญ คือ 1) เพิ่มความเข้มแข็งของแกนนำเครือข่ายพื้นที่ 2) ขยายความร่วมมือของทุกภาคส่วน

ในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล 3) ส่งเสริมให้สถานพยาบาลพัฒนาต่อเนื่อง จัดทำแผนการพัฒนาตามข้อเสนอแนะและต่ออายุก่อนวันครบกำหนด 6 เดือน 4) ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเสริมองค์ความรู้ในพื้นที่ให้เข้าถึงองค์ความรู้มาตรฐานและแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพ HA


2. วัตถุประสงค์โครงการ

    (1) เพื่อให้เกิดเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งระหว่างเครือข่ายทุกประเภท การช่วยเหลือกันในเครือข่ายที่มีเป้าหมายเดียวกัน

    (2) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การส่งเสริมกระตุ้นการพัฒนาระหว่างโรงพยาบาลที่ปรึกษา HACC, QLN และประชาชน

    (3) สามารถยกระดับให้โรงพยาบาลในเครือข่ายมีลำดับขั้นการพัฒนาที่สูงขึ้น ผ่านการรับรองคุณภาพ หรือต่ออายุการรับรองคุณภาพ ด้วยกลไกการสนับสนุนจาก สรพ.และเครือข่าย

3. เป้าหมายของโครงการ

    (1) สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกเครือข่ายในการกระตุ้นหรือยกระดับการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล

    (2) ส่งเสริมให้เกิดการรับรองด้วยระบบเครือข่าย เช่น HNA, DHSA ตามความต้องการของเครือข่าย

    (3) เพิ่มศักยภาพบุคลากรเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง


*** เป็นไปตามความพร้อมของเครือข่าย

4. กลุ่มเป้าหมาย

    (1) พี่เลี้ยงคุณภาพเครือข่ายของสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ

    (2) เครือข่ายพัฒนาคุณภาพตามพื้นที่จังหวัดหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

5. กิจกรรมหรือขั้นตอนที่จะดำเนินการตามโครงการ

    (1) สนับสนุนการทำงานเครือข่าย HACC จำนวน 6 แห่ง ในการวางแผนกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลในพื้นที่

    (2) พัฒนาความรู้ศักยภาพพี่เลี้ยงเครือข่ายและที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพในเรื่องมาตรฐาน HA และประเด็นการพัฒนาตามระดับขั้น ปีละ 2 ครั้ง

    (3) สร้างการเรียนรู้ในเรื่องมาตรฐานสู่การปฏิบัติที่หน้างานโดยการลงเยี่ยมพื้นที่ตามความต้องการหรือเป้าหมายของเครือข่าย

    (4) ร่วมพัฒนาเข้าสู่กระบวนการรับรองที่หลากหลายตามเป้าหมายของเครือข่าย เช่น HIV, HNA , DHSA

    (5) เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพจากเครือข่ายที่มีผลการดำเนินการที่ดี

    (6) มีสิทธิ์ในการเข้าร่วมประชุม HA National Forum 2021 ตามแนวทางที่สถาบันฯ กำหนด

6. ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการ

    (1) โรงพยาบาลมีความพร้อมในการรับรองกระบวนการคุณภาพ HA หรือต่ออายุการรับรองกระบวนการคุณภาพ Re accreditation และคงอยู่ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ

    (2) ขยายพื้นที่เครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เกิดพันธมิตรร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพตามปัญหาและบริบทมากขึ้น

    (3) บุคลากรสาธารณสุขที่มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคุณภาพที่มีศักยภาพและเข้าใจบริบทพื้นที่ สามารถกระตุ้นการพัฒนาพร้อมกับสร้างแรงบันดาลใจประชาชนได้รับการดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน