ผู้เยี่ยมสำรวจ

กระบวนการสรรหาผู้เยี่ยมสำรวจ

หน้าหลัก / ผู้เยี่ยมสำรวจ / กระบวนการสรรหาผู้เยี่ยมสำรวจ

โปรแกรมพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจใหม่ (Initial or New Surveyor Training Program)
 เป็นโปรแกรมเพื่อสรรหา คัดเลือก และพัฒนาบุคคลที่สนใจเป็นผู้เยี่ยมสำรวจของสถาบัน โดยมีขั้นตอนต่างๆ ในระยะเวลา 2 ปี 

            1. Standard course work (External surveyor preparation camp: HA 451 หรือ potential trainees selection program) ขั้นตอนเรียนรู้มาตรฐานจากการเข้าฝึกในหลักสูตรหรือจากการปฏิบัติจริง โดยเป็นขั้นตอนการสรรหา คัดเลือกผู้สนใจเป็นผู้เยี่ยมสำรวจผ่านการเรียนรู้มาตรฐาน เชื่อมโยงมาตรฐานกับบริบทโรงพยาบาล และฝึกทักษะเบื้องต้นของการเป็นผู้เยี่ยมสำรวจ ร่วมกับครูผู้เยี่ยมสำรวจ เพื่อประเมิน ทัศนคติ พฤติกรรม และ สมรรถนะที่สำคัญต่อการเป็นผู้เยี่ยมสำรวจ ซึ่งผู้ที่จะเข้าร่วมขั้นตอนนี้ได้ต้องมีความรู้ความเข้าใจมาตรฐานโดยผ่านเกณฑ์ประเมินหรือผ่านหลักสูตรอบรมมาตรฐานของ สรพ. ผู้เรียนต้องมาเข้าแคมป์ร่วมกันในเวลา 5 วัน 4 คืน โดยมีการประเมินเพื่อคัดเลือกแบบ 360 องศา จากตัวเอง เพื่อน และครู รวมถึงเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป หรือ กรณีเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจมาตรฐานจากประสบการณ์การทำงานทั้งฐานะผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากผู้เยี่ยมสำรวจอาวุโส คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ คณะกรรมการสถาบัน หรือผู้บริหารของสถาบัน โดยได้รับการประเมินโดยวิธีการของสถาบันและผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการคัดเลือกและขึ้นทะเบียนผู้เยี่ยมสำรวจ  สามารถเข้าร่วมขั้นตอนต่อไปได้ 

            2. Field work (STA program: See-Try-Act Program) เป็นขั้นตอนการฝึกทักษะของการเป็นผู้เยี่ยมสำรวจหน้างานจริง โดย 3 ขั้นตอนย่อย คือ See-Try-Act โดยขั้นตอน See ทุกคนต้องเข้าร่วม 1 ครั้ง และในขั้นตอนนี้ครูผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจจะประเมินเพื่อคัดเลือก เข้าร่วมขั้นตอนต่อไป หลังจากนั้น จะผ่านขั้นตอน Try และ Act อย่างละไม่เกิน 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี หากครูฝึกผู้เยี่ยมสำรวจ อย่างน้อย 2 ท่าน ประเมินผ่านตามเกณฑ์ และ competency จะได้รับการเสนอชื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกและขึ้นทะเบียนผู้เยี่ยมเป็นผู้พิจารณา 

            3. Hospital survey with trainer ขั้นตอนนี้หากผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกผู้เยี่ยมสำรวจให้ขึ้นทะเบียนผู้เยี่ยมสำรวจใหม่ ผู้เยี่ยมสำรวจใหม่จะต้องเยี่ยมคู่กับครูฝึกผู้เยี่ยมสำรวจทุกครั้ง และต้องเยี่ยมไม่น้อยกว่า 10 วันต่อปี เพื่อฝึกทักษะและทำชิ้นงานตาม Competency level

            4. Workshop for share and learn experience with trainers, and experience surveyors ผู้เยี่ยมสำรวจใหม่จะต้องเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเยี่ยมและเพิ่มพูนทักษะและความรู้ ผ่านกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนผลการดำเนินร่วมกัน เป็นกลไกในการสร้างมาตรฐานผู้เยี่ยมสำรวจให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับสถานพยาบาลในเป้าหมายที่ใกล้เคียงกันโดยเรียนรู้วิธีการที่หลากหลายจากต่างประสบการณ์

            5. Learning hospital accreditation standards and practice coaching skill in the HAI standards training program เพื่อให้ผู้เยี่ยมสำรวจใหม่มีความเข้าใจมาตรฐานอย่างลึกซึ้ง รวมถึงฝึกทักษะการเป็นโค้ชจากการผู้ช่วยวิทยากรกลุ่มในการโค้ชผู้เข้าร่วมประชุม

การฝึกอบรมและพัฒนาผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจ (Apprenticeship Program)
ผู้ที่ผ่านการสรรหาและได้รับการคัดเลือกจะได้รับเชิญให้เข้าโปรแกรมการพัฒนาเป็นผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจ (Surveyor in Training program) ตามขั้นตอนต่อไปนี้

      • การปฐมนิเทศ (Orientation Program) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทาง ปรัชญาของการรับรองกระบวนการคุณภาพของสถาบัน สร้างความตระหนักในจริยธรรมของการเป็นผู้เยี่ยมสำรวจ เข้าใจกระบวนการฝึกเยี่ยมสำรวจ การประเมินผลการฝึกเยี่ยมและกระบวนการร้องเรียน อุทธรณ์กระบวนการฝึกเยี่ยม ทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน HA และพัฒนาทักษะการวิเคราะห์รายงานการประเมินตนเอง ในการวิเคราะห์บริบทองค์กรสุขภาพที่เชื่อมโยงกับเนื้อหามาตรฐาน
          ขั้นตอนปฐมนิเทศ: บุคคลที่ผ่านเกณฑ์ด้านบนจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการปฐมนิเทศ โดยมี วัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ดังนี้ 
               1) เพื่อทบทวนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของสถาบัน 
               2) เพื่อการสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้สำรวจ 
               3) ทบทวนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของมาตรฐาน HA; และ 
               4) เพื่อเพิ่มความสามารถของผู้ฝึกงานที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์บริบทองค์กรสุขภาพที่เชื่อมโยงกับเนื้อหามาตรฐาน ในระหว่างโปรแกรมปฐมนิเทศผู้ฝึกอบรมเหล่านี้จะถูกประเมินโดยผู้ฝึกสอนเกี่ยวกับความสามารถพื้นฐานหลังจากการประเมินความสามารถเพื่อเลือกผู้ฝึกอบรมสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมผู้สำรวจ (STA)

        • การฝึกเยี่ยมสำรวจ สถาบันจัดโครงการพัฒนาทักษะให้กับผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจภายใต้ชื่อว่า “STA Program” STA Program หมายถึง โปรแกรมการฝึกผู้เยี่ยมสำรวจภาคสนาม (site visit training) 3 ขั้นตอน ได้แก่ See (สังเกตการเยี่ยมสำรวจของครูฝึกหรือผู้เยี่ยมสำรวจอาวุโส) Try (ฝึกเยี่ยมสำรวจภายใต้การดูแลของครูฝึกหรือผู้เยี่ยมสำรวจอาวุโส) Act (การฝึกเยี่ยมสำรวจที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เยี่ยมสำรวจทุกขั้นตอนโดยมีครูฝึกและผู้เยี่ยมสำรวจที่มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา)  ตลอดระยะเวลาในการฝึกเยี่ยมสำรวจ สรพ. จะจัดผู้เยี่ยมสำรวจที่มีประสบการณ์ให้เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษาและคอยให้ความช่วยเหลือด้านการตีความมาตรฐาน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และหลังการฝึกเยี่ยมทุกครั้ง ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจและครูฝึกเยี่ยมสำรวจประเมินผลการฝึกเยี่ยมตามแบบฟอร์มที่สถาบันกำหนดและร่วมกันทบทวนบทเรียนพร้อมวางแผนการพัฒนาตนเองต่อเนื่อง ขั้นตอนดังนี้
               2.1  ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสังเกตการณ์การเยี่ยมสำรวจ (See) ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจจะได้รับมอบหมายให้ติดตามสังเกตทีมเยี่ยมสำรวจเพื่อให้ได้สัมผัสกับบรรยากาศจริงของการเยี่ยมสำรวจ เรียนรู้ขั้นตอนและเทคนิคการเยี่ยมสำรวจของผู้เยี่ยม 
ขั้นตอน See: ขั้นตอนนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ วิธีการใช้มาตรฐานและทักษะในการเยี่ยมสำรวจจริงที่หน้างาน โดยเรียนรู้วิธีการเยี่ยมสำรวจร่วมกันกับผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจ 1-2 คน โดยไปพร้อมกับครูฝึกเยี่ยมสำรวจ ได้สังเกตกระบวนการสำรวจ การสนทนากับครูฝึกเยี่ยมสำรวจจะช่วยเพิ่มความเข้าใจในการใช้ทักษะการเยี่ยมสำรวจ จะมีการเยี่ยมชมสถานที่สำรวจและระบบสนับสนุนเป็นพิเศษเพื่อสาธิตวิธีการเยี่ยมสำรวจโดยใช้มาตรฐาน HA
               2.2  ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการทดลองปฏิบัติ (Try) เป็นการจัดให้ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองฝึกวางแผนและปฏิบัติเยี่ยมสำรวจภายใต้การดูแลของผู้เยี่ยมสำรวจที่มีประสบการณ์อย่างใกล้ชิด โดยผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจจะได้รับมอบหมายให้วิเคราะห์เอกสารรายงานการประเมินตนเองในการดูแลผู้ป่วยและระบบงานสำคัญอย่างละ 1 ระบบ เป็นอย่างน้อย วางแผนการเยี่ยมสำรวจ เตรียมการเยี่ยมร่วมกับทีม เยี่ยมสำรวจตามแผน สรุปผลการเยี่ยมสำรวจและเขียนรายงานในหมวดที่ได้รับมอบหมาย 
               2.3  ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการปฏิบัติหน้าที่เยี่ยมสำรวจจริง (Act) เมื่อครูฝึกผู้เยี่ยมสำรวจมั่นใจว่าผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจสามารถปฏิบัติได้ทุกขั้นตอน จะมอบหมายให้ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้เยี่ยมสำรวจเสมือนผู้เยี่ยมสำรวจคนหนึ่งในทีม โดยมีผู้เยี่ยมสำรวจที่มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจจะได้รับมอบหมายให้ฝึกเยี่ยมสำรวจภายใต้การดูแลของครูฝึก โดยครูฝึกจะติดตามผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจที่จะมารวมกันและพูดคุยกับครูฝึกวันละสองครั้ง ผู้ฝึกเยี่ยมจะสังเกตการสัมภาษณ์ทีมและมีโอกาสถามคำถามสองสามข้อ จะได้วิเคราะห์บริบทของโรงพยาบาลและจัดทำแผนเยี่ยมสำรวจ และลงหน้างานเยี่ยมด้วยตนเองตามระบบงานที่ได้รับมอบหมาย ต้องฝึกให้คะแนนและเขียนรายงาน ผู้ฝึกเยี่ยมที่ดำเนินการตามขั้นตอนจนครบจะได้รับการเรียกว่า “candidate surveyor” 
    3. กรณีผู้มีศักยภาพเป็นผู้บริหารระดับสูงของสถานพยาบาล สถาบันอาจใช้การทำหน้าที่สักขีพยานกิตติมศักดิ์ทดแทนการฝึกเยี่ยมภาคสนามตาม STA Program หรือในกรณีบุคลากรของสถานพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในระบบพัฒนาคุณภาพ ที่ถูกคัดเลือกโดยไม่ผ่านโปรแกรม HA 451  จะต้องผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น 2 วัน (Short Course : mini HA 451) และได้รับการประเมินโดยครูฝึกผู้เยี่ยม/พี่เลี้ยง เพื่อคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการปฐมนิเทศในข้อ 1 และการฝึกเป็นผู้เยี่ยมสำรวจใน STA Program ตามข้อ 2 ต่อไป

 

การประเมินเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจ
ขั้นตอนที่ 1 See Program
วัตถุประสงค์การฝึกเยี่ยมขั้นที่ 1: 
      1. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้สัมผัสกับบรรยากาศจริงของการเยี่ยมสำรวจ  
      2. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้เรียนรู้ ขั้นตอน และเทคนิคการเยี่ยมสำรวจของผู้เยี่ยมสำรวจ 
      3. เปิดโอกาสให้ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซักถาม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับผู้เยี่ยมสำรวจ 
ขั้นตอนที่ 2 Try Program
วัตถุประสงค์การฝึกเยี่ยมขั้นที่ 2: 
      1. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ฝึกการวิเคราะห์แบบประเมินตนเองของโรงพยาบาล
      2. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองวางแผนการเยี่ยมสำรวจ เตรียมการเยี่ยมสำรวจร่วมกับทีม 
      3. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองปฏิบัติเยี่ยมสำรวจ ภายใต้การดูแลของผู้เยี่ยมสำรวจที่มีประสบการณ์ 
      4. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองสรุปผลการเยี่ยมสำจรวจร่วมกับทีม
      5. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองฝึกเขียนรายงานที่ได้รับมอบหมาย 
ขั้นตอนที่ 3 Act Program
วัตถุประสงค์การฝึกเยี่ยมขั้นที่ 3: 
      1. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ฝึกการวิเคราะห์แบบประเมินตนเองของโรงพยาบาลในการดูแล/ระบบที่รับผิดชอบ 
      2. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองวางแผนการเยี่ยมสำรวจ เตรียมการเยี่ยมสำรวจในการดูแล/ระบบที่รับผิดชอบร่วมกับทีม 
      3. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองปฏิบัติเยี่ยมสำรวจในการดูแล/ระบบที่รับผิดชอบภายใต้การดูแลของผู้เยี่ยมสำรวจที่มีประสบการณ์ 
      4. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองสรุปผลการเยี่ยมสำจรวจในการดูแล/ระบบที่ได้รับมอบหมายร่วมกับทีม
      5. ผู้ฝึกเยี่ยมสำรวจได้ทดลองฝึกเขียนรายงานที่ได้รับมอบหมาย