มาตรฐาน

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบการทำงานด้วยจิตวิญญาณ

หน้าหลัก / มาตรฐาน / หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบการทำงานด้วยจิตวิญญาณ

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณ
ประกอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5


          สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้นำแนวคิดบริการสุขภาพที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง (people-centered healthcare) ที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกนำแนวคิดมาปรับปรุงและพัฒนาระบบสุขภาพตลอดจนในกระบวนการดูแลผู้ป่วย สถาบันได้นำลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการนำแนวคิดมิติด้านจิตวิญญาณมาบูรณาการกับกระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 มีการพัฒนาให้มีการบูรณาการอย่างชัดเจนและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ SHA (Sustainable Health Promotion & Healthcare Accreditation Spiritual Healthcare Appreciation) ซึ่งมีแนวทางการทำงานที่ประกอบด้วย เป้าหมาย หลักการและวิธีการ ดังแผนภาพ

                                               

                                                   

            SHA มีองค์ประกอบที่บูรณาการทั้ง ความปลอดภัย มาตรฐาน HA มาตรฐานสร้างเสริมสุขภาพ HPH และ Humanize Healthcare มิติจิตวิญญาณ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระบบบริการสุขภาพ โดยใช้กระบวนการ Appreciation เพื่อให้กระบวนการรับรองคุณภาพมีความยั่งยืนและมีความหมายต่อคนทำงาน ผู้ป่วย องค์กร

                ในปี 2564 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) มีการจัดทำ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 ขึ้น และประกาศใช้เพื่อประเมินและรับรอง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ด้วยเป็นมาตรฐานฉบับที่มีความโดดเด่นด้านการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การบูรณาการเอกลักษณ์ของไทย ด้านมิติจิตวิญญาณ โดยเป็นมาตรฐานที่ให้ความสำคัญกับการดูแลด้วยจิตวิญญาณ โดยมีแผนที่จะขยับระดับการรับรอง HA โดยบูรณาการเข้าสู่การรับรอง HA ให้สถานพยาบาลได้ปฏิบัติ เพื่อขยับเข้าสู่การประเมินระบบมิติจิตวิญญาณเข้าสู่ระบบการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน HA

                จากที่มาข้างต้น คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานการรับรองคุณภาพฯ จึงมีมติแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรอง ร่างหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณประกอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจการพัฒนาระบบการทำงานของสถานพยาบาลด้วยจิตวิญญาณขึ้น โดยนำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพขององค์กรตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพตามมาตรฐาน HA ที่ประกอบด้วยการชี้ทิศทางและองค์ประกอบการบริหารองค์กร ได้แก่ การนำองค์กร กลยุทธ์วัฒนธรรม การพัฒนาระบบงาน บุคลากรและระบบการดูแลผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม รวมทั้งจากการถอดบทเรียนจากการขับเคลื่อนมิติจิตวิญญาณมาอย่างยาวนาน โดยบูรณาการทั้งค่านิยมและหลักการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในแง่จิตวิญญาณเพิ่มเติม

เป้าหมายของการใช้หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณประกอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5

                เพื่อเป็นแนวทางใช้มาตรฐาน ฉบับที่ 5 ในการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 ที่เหมาะสม และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพที่มีการบูรณาการเอกลักษณ์ของไทย ด้านมิติจิตวิญญาณ จนองค์กรสามารถแสดงผลการดำเนินงานในระดับที่เป็นที่ยอมรับ

ขอบเขตและเนื้อหาของแนวทาง

                หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณประกอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 นี้ใช้สำหรับการพัฒนาและการประเมินโรงพยาบาลทั้งองค์กร ที่มีการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 ซึ่งสามารถใช้ได้กับโรงพยาบาลทุกระดับ โดยเนื้อหาในมาตรฐานแบ่งเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย

                มาตรฐานตอนที่ I ภาพรวมการบริหารองค์กร ประกอบด้วยบทที่ I-1 ถึง I-6

                มาตรฐานตอนที่ II ระบบงานที่สำคัญของโรงพยาบาล ประกอบด้วยบทที่ II-1, II-2 และ II-5

                มาตรฐานตอนที่ III กระบวนการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยบทที่ III-1 ถึง III-6

                มาตรฐานตอนที่ IV ผลลัพธ์

                เนื้อหาในมาตรฐานทั้ง 4 ตอนได้มีการแบ่งเป็นบท และขยายผลต่อ เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา สร้างการเรียนรู้ และการสืบค้น

รูปแบบการเขียน
1. คอลัมน์แรกเป็นหัวข้อของมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ HA ฉบับที่ 5 ของแต่ละบท

        • โดยในส่วนเนื้อหาของเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 ที่แสดงด้วยตัวอักษรสีม่วง เป็นเนื้อหาที่มีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมจากมาตรฐานฉบับที่ 4

2. คอลัมน์สอง คอลัมน์สอง เป็นเนื้อหาการขยายความ เพิ่มเติมส่วนงานที่เกี่ยวกับมิติจิตวิญญาณ ที่เพิ่มเติมจากเนื้อหาของมาตรฐาน HA ฉบับที่ 5

        • เนื้อหาส่วนเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับมิติจิตวิญญาณ ในคอลัมน์ 2 ที่เป็นช่องว่าง ถือเป็นประเด็นครอบคลุมอยู่ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ HA ฉบับที่ 5 อยู่แล้ว ไม่ได้นำมากล่าวซ้ำ

สิ่งที่ต้องใช้ควบคู่กับมาตรฐาน

1. การพิจารณาบริบทขององค์กรและหน่วยงาน ในการดำเนินงานด้านมิติจิตวิญญาณ

2. แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ Spiritual Healthcare in Action (SHA)

เอกสารแนบ
  1. หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการออกแบบระบบงานด้วยมิติจิตวิญญาณ-SHA Criteria Supplement.pdf
    View