ประกาศนโยบายขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และประชาชน

“การประกาศนโยบายขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และประชาชน” และ“การเรียนรู้กลไกและวิธีการใช้เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ (Quality Tools) สำหรับสมาชิก 3P Safety Hospital” วันที่ 29 - 30 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุม Grand Diamond Ballroom อาคารอิมแพ็ค ฟอร์รั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
วัตถุประสงค์
1) ประกาศ และชี้แจงนโยบาย และสื่อสารทิศทางการขับเคลื่อนโรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข ตามทิศทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3P Safety (Patient Personnel and People) phase 2 ช่วงปี พ.ศ. 2567-2570
2) สื่อสารทำความเข้าใจ แนวทางการพัฒนาคุณภาพ รพ. ตามมาตรฐาน HA และการธำรงคุณภาพด้วยการพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยระบบบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน การกำหนดประเด็นสำคัญ มาตรฐานสำคัญจำเป็น การกำหนดเป้าหมายความปลอดภัย ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์เรื่อง Patient and Personnel Safety โดยมี 2P Safety Goals หรือ (SIMPLE)2 เป็นแนวทางให้เลือกปฏิบัติโดยสอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล
3) สื่อสารทิศทางการพัฒนา ที่มา แนวทาง ความสำคัญ และเทคนิค วิธีการใช้ระบบการรายงานและเรียนรู้ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับประเทศ (National Reporting and Learning System: NRLS) สู่การปฏิบัติจริงในโรงพยาบาล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลระดับประเทศ
4) สื่อสารทิศทางการพัฒนา ที่มา ประโยชน์ และการนำระบบการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยของโรงพยาบาลออนไลน์ (Hospital Safety Culture Survey online: HSCS) เพื่อประเมินและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของโรงพยาบาล
5) สื่อสารทิศทางการพัฒนา ที่มา ประโยชน์และเรียนรู้การใช้งานระบบการรับฟังประสบการณ์ผู้ป่วยสู่การปรับระบบบริการ (Patient Experience Program: PEP) เพื่อการประเมินและปรับปรุงระบบบริการ และเรียนรู้การใช้ระบบสารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล (Thailand hospital indicator program :THIP)
6) เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากระบบรายงานในระบบ NRLS & HRMS on Cloud ระบบ HSCS และระบบ PEP
กลุ่มเป้าหมาย 1,000 คน
1. กลุ่มเป้าหมายหลัก: ตัวแทนโรงพยาบาลสมาชิกใหม่ จำนวน 3 ท่าน/รพ. ที่เข้าร่วมการประชุมแบบ on site
1) ผู้บริหารสถานพยาบาล
2) ผู้นำด้านการพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยงในสถานพยาบาล/QMR/RMC
3) ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็น ผู้ดูแลระบบ (Admin)* ของ รพ. สำหรับการดูแลระบบ HSCS, PEP และผู้ให้ระดับราย รพ.ที่มีสิทธิเข้าใช้ระบบงาน
NRLS หมายเหตุ * Admin คือ ผู้ที่รับผิดชอบในวางแผน (Planning) การนำระบบ HSCS, PEP ไปใช้สู่การปฏิบัติ (Implementation) การ
ติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลจากระบบเพื่อใช้ประโยชน์ (Monitoring & Analysis) (ผู้รับผิดชอบ ผู้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิชาการและบริหาร
จัดการไม่ใช่เจ้าหน้าที่ IT)
2. กลุ่มเป้าหมายร่วม: โรงพยาบาลสมาชิกต่ออายุที่สนใจ จำนวน 945 แห่ง เข้าร่วมการประชุมแบบ on site
3. หน่วยงานภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย บุคลากรสาธารณสุข และประชาชน
4. โรงพยาบาลในโครงการพระราชดำริ ได้แก่ รพ.สมเด็จพระยุพราช และ รพ.ชุมชนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา