การรับรอง

คุณค่าการรับรอง

หน้าหลัก / การรับรอง / คุณค่าการรับรอง

บทเรียนการพัฒนาจาก DSC-HIV สู่การรับรอง HNA

Author : chatarun Date : 11 มี.ค. 2565
View : 5,314 Tags :

การขับเคลื่อนการรับรองเฉพาะโรคด้านเอชไอวีในประเทศไทย

               “คุณภาพบริการที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน ยุติปัญหาเอดส์” กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และศูนย์ความร่วมมือไทย – สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานการรับรองเฉพาะโรคด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้กับสถานพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ Reach – Recruit – Test – Treat – Retain (RRTTR) มีการเชื่อมโยงและบูรณาการการดำเนินงานในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล เพื่อให้ระบบบริการงานโรคติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ ตั้งแต่การส่งเสริมป้องกันการติดเชื้อ การตรวจค้นหาโรคการตรวจวินิจฉัย และตรวจติดตามประเมินสภาวะโรคและการดูแลรักษา ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตของการรับรองเฉพาะรายโรค คือ “การดูแลผู้ป่วยโรคใดโรคหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดหรือตลอดธรรมชาติของการกำเนิดโรค”


รูปแบบการพัฒนาคุณภาพด้าน HIV เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับรองเฉพาะโรค

โครงสร้างการขับเคลื่อนสำคัญของโรงพยาบาล

               ทีมนำ ทีมนำเฉพาะด้านเพื่อยุติปัญหาเอดส์ ควรประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งผู้รับผิดชอบงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่นำข้อมูลวิชาการที่ทันสมัยมากำหนดทิศทางและแนวทางการทำงาน ติดตามความก้าวหน้า ประสานความร่วมมือและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับทีมนำองค์กร วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร รวมทั้งรายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ให้ทีมนำองค์กรรับทราบ

               ทีมประสานงาน ควรมีบุคลากรที่ทำงานเต็มเวลาทำหน้าที่ประสานทิศทางและแนวทางการทำงานไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานต่างๆ ติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ติดตามการสร้างนวัตกรรมและปัญหาอุปสรรคในการทำงานรวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และตรวจพบปัญหาความต่อเนื่องของการดูแลผู้ติดเชื้อ

               Alignment ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการทำงานที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร

ใช้เป้าหมาย 90-90-90 เป็นตัวเชื่อมโยง แต่ละหน่วยงานต้องหมั่นทบทวนตลอดเวลาว่า งานของตนสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมาย 90-90-90 อย่างไร ถ้าเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย จะต้องปรับปรุงอย่างไร

               Integration การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญมากสำหรับการยุติปัญหาเอดส์

Coach for HIV-Quality Driven

               การโค้ช คือการสร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นคุณค่า เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงในกระบวนการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทุกขั้นตอน ทุกหน่วยงานด้วยความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ จากการดูแลเพื่อการรักษา ควบคุม และป้องกัน โดยนำมาตรฐานการรับรองเฉพาะโรคเป็นเครื่องมือ


หลักคิดและเครื่องมือที่ใช้ในการโค้ชเพื่อการพัฒนา



Lesson learned from HIV Coordinator: Scaling up HIV/STI from Disease specific certification

               การเรียนรู้ ทำความรู้จักกับ HIV-DSC ทำให้เห็นจุดเชื่อมต่อในการพัฒนางานด้าน HIV/STI ในการปิดช่องว่าง ของระบบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงการให้บริการและการดำเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและนำไปสู่ผลลัพธ์“ยุติปัญหาเอดส์”

บทบาท ผู้ประสานงานด้านเอชไอวี (HIV-Co) ที่เกิดขึ้นหลังดำเนินการ DSC-HIV

1. เป็นผู้ประสานงานทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง เริ่มจากเรียนรู้มาตรฐานร่วมกับทีมดูแลรักษาผู้ติดเชื้อHIVในระบบงานบริการที่มีซึ่งมีแพทย์โรคติดเชื้อให้ความสำคัญ สู่การประเมินตนเองในภาพรวมบริการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการดูแลผู้ป่วย HIV/STI นำมากำหนดเป้าหมายของโรงพยาบาล ไม่ใช่เฉพาะแค่หน่วยงานและ นำเสนอต่อทีมนำของรพ.ในการสนับสนุน กำหนดเป็นทิศทางการพัฒนาระดับรพ.และติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง

2. ประสานทีมศูนย์คุณภาพร่วมสร้าง/ขยายเครือข่ายทีมให้บริการด้านHIV/STI ที่มีการเชื่อมต่อการบริการ นำ GAPที่ได้จากการประเมินตนเองผ่านมาตรฐานDSC-HIV มาร่วมเรียนรู้ สร้างรูปแบบการทำงานที่เป็นทีมอย่างเป็นระบบ เกิดแนวทางในการทำงานที่ครอบคลุมในทุกสาขาภาควิชา ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

3. ติดตามข้อติดขัด ให้ความช่วยเหลือ ร่วมคิด ร่วมหาทางออกโดยใช้มาตรฐาน DSC-HIV เป็นแม่บทในการพัฒนากระบวนการ ต่อยอด ติดตามผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ ในด้านการทำงานและไม่โดดเดี่ยว

               ศูนย์คุณภาพคือ ศูนย์กลางของกลไกการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เป็นแหล่งเริ่มต้นในการเรียนรู้ เผยแพร่เครื่องมือคุณภาพ ประสานความร่วมมือของทีมระบบงานต่างๆ รวมทั้งส่งต่อปัญหา ขอการสนับสนุนจากทีมนำองค์กร และส่งต่อทิศทางการขับเคลื่อนจากทีมนำองค์กรสู่การปฏิบัติในระดับทีม/หน่วยงาน

การเปลี่ยนแปลงหลังการรับรอง DSC HIV&STI

1. ระบบการดูแลผู้ป่วยเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข้มแข็งขึ้น มีเครื่องมือ แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รู้ความต้องการซึ่งกันและกัน มีการเชื่อมโยงประสานส่งต่อที่มีรอยต่อน้อยที่สุด โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

2. มีระบบการติดตามความก้าวหน้าและตั้งเป้าหมายในการขยับสู่ 95-95-95 มีการพัฒนาที่ท้าทายมากขึ้น เช่น Same Day ART, Stay Negative ในกลุ่มเสี่ยงและคู่ ส่งเสริมPrevention :ให้ยา PrEP เป็นต้น

3. คนทำงานมีกำลังใจ เห็นคุณค่าของตนเอง เห็นคุณค่าของงานที่ทำ มีความประณีตในการทำงานและ

มีความสุข ทุ่มเทมากขึ้น ส่งผลให้มีผลงานที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

4. เป็นต้นแบบการดำเนินงานให้ DSC ในกลุ่มโรคอื่นๆของโรงพยาบาล เช่น DSC DM DSC Stroke

ปัจจัยความสำเร็จ : ทีมบริหารสนับสนุน ทีมนำเฉพาะด้านที่มุ่งมั่น มีเป้าหมายชัดเจน ทีมสหสาขาที่ร่วมจับมือไปด้วยกัน ทีมประสานงานจากศูนย์คุณภาพมืออาชีพและทุกคนเห็นคุณค่าในงานที่ทำ

การพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรองระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (HNA)

              สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคและศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (TUC) ได้ร่วมมือจัดทำโครงการนำร่องพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เครือข่ายระดับจังหวัด ด้วยการบูรณาการมาตรฐานระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (HNA) ลงสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ที่มีเป้าหมายร่วมกันคือการนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบบริการที่ครอบคลุม รวดเร็ว ต่อเนื่องไม่หายจากระบบ โรงพยาบาลในเครือข่าย เกิดพลังร่วมในการพัฒนาด้วย commitment และส่วนร่วมของผู้นำในทุกโรงพยาบาล รวมทั้งสาธารณสุขจังหวัด ที่จะขับเคลื่อนสร้างทีมนำเครือข่าย คู่ขนานกับประสานความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องภายในของแต่ละรพ. และใช้ศักยภาพร่วมกันอย่างเต็มที่ภายใต้การโอบอุ้มของโรงพยาบาลแม่ข่าย ที่จะเป็นแรงผลักให้เครือข่ายประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นกลไกให้เกิดความยั่งยืนในการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สู่เป้าหมายการยุติเอดส์ในอนาคต Getting to Zero : 95-95-95

แผนภาพ กลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายคุณภาพระดับจังหวัดในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

         จากแผนภาพการขับเคลื่อนเครือข่ายคุณภาพระดับจังหวัดที่ได้ดำเนินการทดลองนำร่อง 2 จังหวัดคือจ.เชียงราย และจ.ภูเก็ต นั้นมีรูปแบบการขับเคลื่อนที่แตกต่างกันตามโครงสร้างการดำเนินงานที่มีในพื้นที่ และความเข้มแข็ง Keyman ในการขับเคลื่อนซึ่งสามารถสรุปเป็นบทเรียนเพื่อขยายผลการขับเคลื่อนเครือข่ายอื่นๆต่อไปในวงกว้าง ร่วมกับการใช้บริบทของพื้นที่ในการร่วมจัดการ ดังนี้

1) การศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของทีม/หน่วยงานที่ดำเนินการ ด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในทุกระดับ ทุกภาคส่วนของเครือข่าย มองหาความน่าจะเป็นในการเป็นทีมนำสูงสุดของเครือข่ายด้านนโยบาย และทีมนำด้านวิชาการ ซึ่งควรมีแพทย์/แกนนำในโรงพยาบาลแม่ข่ายและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นจุดเชื่อมต่อกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อนำเสนอประเด็นต่าง ๆ สู่ทีมนำเครือข่าย (การทำให้โครงสร้างทีมนำมีบทบาทที่ชัดเจนอาจทำคู่ขนานกับกระบวนการอื่น ๆ)

2) ค้นหา Key man/ Key Success Factors ที่มีความสนใจ ทุ่มเท ให้คุณค่าในการทำงานด้าน HIV ในทุกระดับ ทุกภาคส่วน ขยายพลัง สร้างแนวร่วมให้ครอบคลุมทุกโรงพยาบาลในเครือข่าย (เน้นการพัฒนาจากระดับปฏิบัติการสู่ทีมระบบ ทีมนำ และทีมเครือข่าย) ร่วมกับการขอ Commitment จากผู้อำนวยการทุกโรงพยาบาลในเครือข่ายเพื่อตั้งเป้าหมายร่วมในการพัฒนาเครือข่าย

3) กำหนดแม่ข่ายทีมีศักยภาพ มีสมรรถนะเป็นแกนนำ (Macro System Network) ด้วยความเห็นชอบของผู้อำนวยการโรงพยาบาล ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงวิชาการและพัฒนาระบบบริการด้วยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของแพทย์และทีมดูแลรักษาHIV ที่มีใจ เห็นคุณค่าให้ความสำคัญในการดูแลผู้ติดเชื้อ และเห็นประโยชน์ ผลลัพธ์ที่ดีในการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ HIV/ผู้ป่วยเอดส์ในรูปแบบเครือข่ายจังหวัด

4) จัดตั้งทีมขับเคลื่อนการพัฒนาเครือข่ายระดับกลาง (meso system network) ที่ประกอบด้วยแพทย์ HIV-Coordinator เภสัชกร เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และศูนย์คุณภาพของทุกโรงพยาบาลในเครือข่ายเป็นอย่างน้อยเพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละวิชาชีพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์

5) ทบทวน/จัดทำแนวทางปฏิบัติ (national clinical practice guideline) และหาส่วนขาด ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ตามมาตรฐานประเทศ ร่วมกับการวิเคราะห์การจัดบริการที่ควรมีตามแนวทางเทียบเคียงกับศักยภาพของแต่ละโรงพยาบาลในเครือข่ายเพื่อเห็นส่วนต่าง ข้อจำกัดของระบบบริการในเครือข่าย กำหนดเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาด้วยกลไก/การบริหารของเครือข่าย

6) ทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงาน 90-90-90 ร่วมกับทบทวนการจัดเก็บข้อมูล ความครอบคลุม ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อนำมาสู่การตัดสินใจในการพัฒนาระบบการจัดเก็บ/ใช้ข้อมูลเพื่อให้เห็นสถานการณ์แท้จริงของเครือข่ายและโรงพยาบาล

7) ทบทวนกระบวนการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาล (micro systems) และจุดเชื่อมต่อ (Handover) ของแต่ละกระบวนการกับโรงพยาบาลแม่ข่ายหรือหน่วยบริการอื่นๆในเครือข่ายทั้งภายใน/ภายนอกโรงพยาบาล กำหนดเป็นประเด็นสำคัญสู่การออกแบบการเชื่อมต่อระบบบริการให้ไร้รอยต่อ (seamless network)


แผนภาพ กระบวนการให้บริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ HIV 

               จากแผนภาพจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถทบทวนกระบวนการจัดบริการภายในโรงพยาบาลเพื่อค้นหาส่วนขาด ปัญหาในการจัดบริการโดยเทียบเคียงกับมาตรฐาน/แนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ที่เป็นมาตรฐานนำมากำหนดเป้าหมายของโรงพยาบาลตนเองในการพัฒนา

8) ศึกษามาตรฐาน HNA เพื่อพิจารณาส่วนขาดของเครือข่ายโดยเทียบเคียงองค์ประกอบสำคัญตามมาตรฐาน ด้วยการมีส่วนร่วมสร้างการเรียนรู้ของศูนย์คุณภาพ ที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ/พี่เลี้ยง HIV ระดับจังหวัด

9) สรุปประเด็นที่เป็นส่วนขาด ทั้งในด้านศักยภาพ สมรรถนะ กระบวนการ ผลลัพธ์ และมาตรฐาน HNA นำมาทบทวนปัญหา สาเหตุ ปัจจัย ข้อจำกัดตามบริบทของเครือข่าย (สิทธิการรักษา ลักษณะ/กลุ่มผู้ป่วย อาชีพ วิถีชีวิตเป็นต้น) นำมากำหนดภาพฝันของเครือข่าย จัดทำกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน เป้าหมายระยะสั้น/ยาว กลวิธีในการจัดการด้วยกลไกเครือข่าย แผนปฏิบัติงาน และตัวชี้วัดผลสำเร็จ

10) นำเสนอภาพรวมสู่ทีมนำเครือข่าย โดยทีมนำเครือข่ายที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อน (meso system) สรุปภาพรวมปัญหาของเครือข่ายจากระดับล่าง (micro system)ทั้งในด้านการศักยภาพจัดบริการ สมรรถนะ ปัญหาการดูแลรักษา สร้างเสริม ป้องกัน เพื่อสรุปเป้าหมาย จุดเน้นในภาพรวมของเครือข่ายระดับจังหวัด พร้อมการวิเคราะห์ value stream mapping และ SIPOC ของเครือข่าย ในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ขจัดอุปสรรคและให้การสนับสนุน จัดทำกลยุทธในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และแผนการดำเนินงาน นำเสนอต่อทีมนำเครือข่ายในการขับเคลื่อน (macro system)