ที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ QC

ที่มาของที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ (Quality Coach)

หน้าหลัก / กลไกความร่วมมือคุณภาพ / ที่มาของที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ (Quality Coach)

ที่มาของที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ (Quality Coach)

     สรพ. มีนโยบายที่จะใช้หลักคิด empowerment evaluation เพื่อทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ให้กำลังใจ เป็นกระจกสะท้อนและสามารถกระตุ้นการพัฒนาของสถานพยาบาล ดังนั้น ที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ ซึ่งถือเป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการส่งเสริม สร้างการเรียนรู้แก่สถานพยาบาล

      ที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพของสถาบัน (Quality Coach) หมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาและบริหารคุณภาพ ผ่านคัดเลือก อบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพและได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรีกษากระบวนการคุณภาพ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของสถาบัน เข้าเยี่ยมให้คำปรึกษา เพื่อการพัฒนาสถานพยาบาลในลักษณะกัลยาณมิตร และเน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (learning approach) กระตุ้นให้เห็นโอกาสพัฒนาในมุมมองที่กว้างขึ้นตามกรอบมาตรฐาน และรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ ที่ปรึกษาจึงเป็นผู้กระตุ้นการพัฒนาในพื้นที่ ให้ความรู้ และให้คำปรึกษาแก่สถานพยาบาลในรูปแบบต่างๆ

     อ้างถึงประกาศสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เรื่อง เกณฑ์การคัดเลือก แต่งตั้ง   และต่ออายุที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2561 ได้กำหนดบทบาทหน้าที่      ของที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ ไว้ดังนี้

  1. เป็นผู้แทนของสถาบันในการส่งเสริมกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลในลักษณะกัลยาณมิตร และเน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (learning approach) กระตุ้นให้เห็นโอกาสพัฒนาในมุมมอง ที่กว้างขึ้นตามกรอบมาตรฐานเป็นผู้กระตุ้นการพัฒนาคุณภาพในทุกรูปแบบ ทั้งการพัฒนาคุณภาพในลักษณะพื้นที่เครือข่ายการให้ความรู้ให้คำแนะนำในเรื่องแนวคิดคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาลแก่สถานพยาบาล ในรูปแบบต่างๆ
  2. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ ให้คำแนะนำ และสร้างการเรียนรู้แก่สถานพยาบาล เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการใช้เครื่องมือคุณภาพ และกระบวนการคุณภาพ เพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
  3. เยี่ยมให้คำแนะนำ ให้ความรู้เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพแก่สถานพยาบาลในทุกระดับขั้น รวมทั้งให้คำแนะนำในประเด็นหลักที่สอดคล้องกับทิศทางของสถาบันในการรับรองที่หลากหลาย และจัดทำรายงานเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อสถานพยาบาลเพื่อปรับปรุง
  4. เข้ารับการอบรมที่สถาบันกำหนดเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ และการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
  5.  ให้ข้อเสนอแนะและให้ความร่วมมือกับสถาบันในวิธีการหรือรูปแบบการพัฒนาคุณภาพในพื้นที่ รวมทั้งการเยี่ยมให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาคุณภาพ