ระบบที่เกี่ยวข้อง

ระบบการรายงานและเรียนรู้อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

หน้าหลัก / ระบบที่เกี่ยวข้อง / ระบบการรายงานและเรียนรู้อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

NRLS: National Reporting and Learning System in Thailand

        ประเทศไทย มีการขับเคลื่อน 2P Safety ในเชิงนโยบาย และส่งเสริมดำเนินการสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม โดยกำหนดเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุข เป็น Patient and Personnel Safety ตั้งแต่ปี 2560 และได้มีการประเมินสถานการณ์ patient Safety ในประเทศไทยมีการพัฒนาระบบ National Reporting and Learning system มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 2P Safety ระดับประเทศ มีการ review patient safety goals ซึ่งเดิมมีการดำเนินการในปี 2008 เป็น 2P Safety Goals 2018 : (SIMPLE)2 และประกาศใช้ในปี 2661 ด้วยกลไกการขับเคลื่อนสำคัญภายใต้แนวคิด  “Quality and Safety+ Coverage and Access”

        ระบบการรายงานและเรียนรู้อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ประเทศไทย (National Reporting and Learning System: NRLS) เป็นระบบรายงานอุบัติการณ์ที่เชื่อมโยงกับการสร้างระบบบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลสู่การรายงานอุบัติการณ์ระบดับประเทศ เพื่อให้มีข้อมูลในการวิเคราะห์แลกเปลี่ยน เรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบด้วยกันซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆในการพัฒนาระบบนี้ในภูมิภาค

 

    - เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานพยาบาล (HRMS Client) เป็นระบบที่สามารถใช้ได้กับสถานพยาบาลทุกระดับ ทุกขนาด ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

    สถานพยาบาล มีระบบฐานข้อมูลอุบัติการณ์ด้านความปลอดภัย ที่ใช้เป็นข้อมูลในการเรียนรู้ และติดตามประเมินผลการพัฒนาระดับคุณภาพและความปลอดภัยของตนเอง โดยระบบของโรงพยาบาลสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง (NRLS) เป็นข้อมูลภาพรวมของประเทศต่อไป

    โรงพยาบาลใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงภาพรวมของประเทศ ในการพัฒนาและสร้างระบบรายงานและเรียนรู้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เหล่านั้น เพื่อมุ่งสู่ความปลอดภัยทั้งทางด้านผู้ให้และผู้รับบริการ

    เป็น Web-based Application สามารถเข้าใช้งานได้อย่างอิสระตลอดเวลา ผ่านระบบ

Internet Web Browser ซึ่งรองรับการใช้งานแบบ Any-time, Any-where, Any-Device,

Any-Platform บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่หลากหลาย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, Smart

Phone, iPad, tablet ต่างๆ โดยมีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการกำหนดกลุ่มผู้ใช้ตามบทบาทและระดับสิทธิ์การเข้าใช้งาน

    เป็นระบบฐานข้อมูลอุบัติการณ์ความเสี่ยงภาพรวมของประเทศ ซึ่งใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ตามนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety: 2P Safety)

   -  เป็นระบบที่มีช่องทางสำหรับรับข้อมูลอุบัติการณ์ความเสี่ยงตามมาตรฐานกลาง (Standard Data Set & Terminologies) จากสถานพยาบาลทุกระดับ ทุกขนาด ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน โดยแยกวิธีการรับข้อมูลออกเป็น 2 วิธีการผ่านช่องทางแต่ละช่องทาง ดังนี้

1) วิธีการรับข้อมูลแบบ real time โดยอัตโนมัติผ่านช่องทางการใช้งานระบบ HRMS on Cloud

2) วิธีการรับข้อมูลที่ถูกต้องตาม Standard Data Set & Terminologies ด้วยการ Import ผ่านระบบ NRLS service ซึ่งเป็นช่องทางส าหรับสถานพยาบาลสมาชิกที่ไม่ได้ใช้งานระบบ HRMS on Cloud

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

   สถานพยาบาลในประเทศไทย มีระบบบริหารความเสี่ยงของตนเองที่เชื่อมต่อกับระบบ National Reporting and Learning System ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาและเป็นการวางระบบ บริหารความเสี่ยงของแต่ละโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ

  ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจวางแผนพัฒนางานคนเงินของ เพื่อพัฒนา Health System ให้มี คุณภาพและความปลอดภัย มีระบบเพื่อความปลอดภัยมีมั่นใจอย่างน้อย 9 เรื่อง

  มีระบบเพื่อ Learning และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญพัฒนาระบบเพื่อวางระบบป้องกัน จะลดค่าใช้จ่ายจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ลดปัญหาฟ้องร้อง และสร้างความน่าไว้วางใจใน ระบบบริการสุขภาพ

  ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคในการพัฒนาระบบ NRLS ซึ่งเป็นทิศทางระดับ Global ที่ปฏิบัติได้จริง


ซึ่งในปี 2562-2567 มีสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการฯ สมาชิกใช้ระบบ Real-time และ Export/Import รวมจำนวน 1,007 แห่ง 


สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2561-2567


ประเภทสังกัด



รายงานข้อมูลการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง ในระบบ NRLS 

ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2567










 

 รายละเอียดเข้าร่วมโครงการฯ 02 027 8843 ต่อ 9431-9433

Click Link:เข้าสู่ระบบ NRLS
คู่การใช้งานระบบ